จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “ซึมเศร้า”

facebook twitter line 
1297
  วันที่/เวลา :14/3/2564 15:35:59
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น “ซึมเศร้า”

สำหรับสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ตอนนี้หลายๆ คนมีการปรับตัวและรับมือได้มากขึ้นกว่าช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีประสบการณ์การปรับตัวและ

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้ามีด้วยกันหลายปัจจัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้ามีดังนี้

โรคซึมเศร้า เกิดจาก - กรรมพันธุ์

สำหรับใครที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีอาการทางจิต มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปประมาณ 20% หรือถ้าใครที่มีฝาแฝดเป็นโรคซึมเศร้าคู่แฝดอีกคนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 60-80%

โรคซึมเศร้า? เกิดจาก - สภาพแวดล้อม

สังคมหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ทั้งสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวหรือบริบทสังคมในที่ทำงาน ที่มีความกดดันสูง มีโอกาสที่ทำให้ความคิดและพฤติกรรมเปลี่ยน ทำให้เศร้าหรือมีความคิดท้อแท้ น้อยใจตัวเอง เป็นต้น

โรคซึมเศร้า? เกิดจาก - ลักษณะนิสัย

หากใครที่มีนิสัยพื้นฐานความคิดชอบมองตัวเองในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย บุคคลเหล่านี้หากเจอเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ เช่น ตกงาน, หย่าร้างหรือโดนตำหนิบ่อยครั้ง ก็มีโอกาสที่ทำให้พัฒนาความคิดไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น

โรคซึมเศร้า? เกิดจาก - สารเคมีในสมอง

นอกเหนือจากเรื่องจิตใจแล้ว ร่างกายก็มีผลต่อโรคซึมเศร้าเช่นเดียวกัน โดยสารเคมีในสมองเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าขึ้นได้ สำหรับสารเคมีที่ส่งผลต่อโรคซึมเศร้า มีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephirne) ความผิดปกติของสารเหล่านี้ทำให้สมดุลในสมองเสียจนนำมาสู่โรคซึมเศร้า

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)

สำหรับโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่นเป็นอาการหลักของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยอาการพื้นฐานคือ ท้อแท้ รู้สึกเศร้า นอนน้อยหรือมากจนเกินไป น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็ว เป็นต้น โดยคนที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้าประเภทเป็นคนที่มีอาการซึมเศร้าติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)

โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย เป็นโรคที่มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น มีอาการเพียง ไม่อยากอาหารหรือกินมากเกินไป นอนหลับน้อยหรือมากเกินไป อ่อนแรงรู้สึกสิ้นหวัง แต่ความรุนแรงของอาการจะน้อยกว่า สำหรับความแตกต่างนอกเหนือจากความรุนแรงของอาการแล้ว ระยะเวลาเป็นส่วนสำคัญโดยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมียจะมีอาการติดต่อกันน้อย 2 ปี ส่วนโรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่นจะมีระยะเวลา 2 สัปดาห์ ขึ้นไป

โรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Depression)

สภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยก่อนมีประจำเดือนผู้หญิงบางคนจะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า เช่น รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีการนอนที่ผิดแปลกไปจากเดิม เป็นต้น โดยโรคซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนอาการจะดีขึ้นหลังจากมีประจำเดือน 2-3 วัน


เพิ่มข่าวโดย :   nantawat.mu@up.ac.th   วันที่/เวลา :14/3/2564 15:35:59

ข่าวล่าสุด